วิทยุสื่อสาร เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติแปลงกระแสไฟฟ้าให้กลายมาเป็นคลื่นแม่เหล็ก ประกอบด้วย ภาครับกับภาคส่ง มีการแผ่กระจายคลื่นวิทยุทางสายอากาศ เป็นเครื่องมือใช้ในการติดต่อสื่อสาร นำมาใช้งานได้หลากหลายประเภท ยกตัวอย่างเช่น วิทยุสมัครเล่น , วิทยุภาคประชาชน เป็นต้น

มีการทำงานโดยแปลงกระแสไฟฟ้าให้กลายมาเป็นคลื่นแม่เหล็ก สามารถแบ่งออกเป็น รับ และ ส่ง มีการกระจายคลื่นวิทยุออกไปทางสายอากาศ คลื่นวิทยุ หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ถูกคิดค้นโดย  James c. Maxwell  เป็นเวลา 300 กว่าปีมาแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ.1864  ต่อมา Heinrich Hertz  เป็นผู้ทำการทดลองเพื่อพิสูจน์ในเรื่องของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

ส่วนประกอบของวิทยุที่สำคัญมีอะไรบ้าง

สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่

ตัวเครื่อง

ตัวเครื่องของวิทยุสื่อสาร ประกอบไปด้วยแผงวงจรรวมทั้งอุปกรณ์ต่างๆ ตามแต่ล่ะเครื่องที่วิทยุสื่อสารแต่ละรุ่นถูกออกแบบมา

แหล่งพลังงาน

เป็นตัวจ่ายกระแสไฟฟ้า มีหน้าที่ป้อนพลังงานให้กับตัวเครื่อง ทำให้สามารถทำงานได้ โดยมีทั้งแบบแหล่งพลังงานแบบ Battery pack และแบบไฟฟ้ากระแสตรง

สายอากาศ

มีหน้าที่รับ – ส่งสัญญาณวิทยุ โดยอยู่ในรูปแบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า พอสัญญาณวิทยุเข้ามาในตัวเครื่องก็จะผ่านการเปลี่ยนแปลงให้เป็นกระแสไฟฟ้า ส่วนในทางกลับกันสายอากาศก็ทำหน้าที่กระจายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งผ่านการแปลงจากกระแสไฟฟ้ามาเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอีกที แล้งส่งออกไปยังเครื่องรับสัญญาณปลายทางนั่นเอง

คลื่นวิทยุ

คลื่นวิทยุ หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ค้นพบโดยนาย  James c. Maxwell  ตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ.1864 กาลต่อมานาย Heinrich Hertz เป็นคนค้นคว้าคนแรกว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นพลังงานชนิดหนึ่งซึ่งสามารถใช้งานได้ เขาค้นพบความจริงนี้ในปี ค.ศ.1887 ว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีความเร็ว 300,000,000 เมตร/วินาที นั่นคือเท่าความเร็วแสง

คลื่นวิทยุมาจากการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าซึ่งอยู่ในสายอากาศ แล้วก็สามารถแผ่กระจายออกไปในอากาศได้ เหมือนกับคลื่นในน้ำ มีลักษณะเป็นทั้ง ลูกคลื่น , ยอดคลื่น , ท้องคลื่น การเคลื่อนตัว 1 รอบคลื่น จึงแปลได้ว่า จากการที่อยู่บนผิวน้ำ ได้ทะยานขึ้นไปสู่ยอดคลื่น ตกลงมายังท้องคลื่น และกลับขึ้นมาเสมอผิวน้ำอีก เพราะฉะนั้นความถี่ของคลื่นวิทยุจึงมีหน่วยต่อวินาที ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ผู้ค้นพบจึงใช้ชื่อของเขามาเป็น หน่วยต่อวินาที นั่นก็คือ Hz นั่นเอง

การใช้และบำรุงรักษา

การใช้เครื่องวิทยุคมนาคมแบบมือถือ ไม่ควรใช้ในขณะที่อยู่ใต้ไฟฟ้าแรงสูง ,  สะพานเหล็ก หรือมีสิ่งบดบังอย่างอื่น อันส่งผลต่อการใช้ความถี่คลื่นวิทยุ ก่อนใช้เครื่องวิทยุคมนาคมใดๆก็ตามควรเช็คว่าสายอากาศ หรือสายนำสัญญาณต่อเข้ากับขั้ว เรียบร้อยไหม นอกจากนี้ขณะส่งอากาศไม่ควรเพิ่ม – ลดกำลังส่ง ในการส่งข้อความ รวมทั้งการพูดแต่ละครั้งอย่ากดสวิทซ์  และไม่ควรส่งนานเกินไป เกิน 30 วินาที