เคยสงสัยกันไหมว่า สถานีวิทยุแรกของประเทศไทยนั้นมีชื่อว่าอย่างไร เกิดขึ้นเมื่อไหร่ และมีความเป็นมาอย่างไร วันนี้เราจะไม่ให้คำตอบทุกคนกัน
กิจการวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของประเทศไทยเรานั้น ได้เริ่มต้นขึ้นราวๆปี พ.ศ.2470 – พ.ศ. 2472 โดย พระเจ้าบรมวงศ์ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงได้ริเริ่มทำการทดลองส่งวิทยุกระจายเสียง ซึ่งพระองค์นั้นทรงได้ตั้งชื่อว่า สถานีวิทยุกรุงเทพฯที่พญาไท เนื่องจากทรงได้กระจายเสียงจากพระราชวังพญาไท โดยได้มอบหมายให้ กองช่างวิทยุ กรมไปรษณีย์โทรเลข ดำเนินการทดลองส่งวิทยุกระจายเสียง และการทดลองในครั้งนั้น ก็สามารถที่จะกระจายเสียงได้เป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2473 โดยเป็นกระแสพระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในการพระราชพิธีฉัตรมงคล จากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรย์พิมาน ในพระบรมมหาราชวัง
ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นในปี พ.ศ.2482 คณะรัฐมนตรีในขนาดนั้น ซึ่งเป็น คณะที่ 9 ของประเทศไทย นำโดย นายพันเอก หลวงพิบูลสงคราม เป็นนายกรับมนตรีในขณะนั้น ได้มีมติให้โอนกิจการวิทยุกระจายเสียง ซึ่งกรมไปรษณีย์โทรเลขดำเนินการอยู่นั้น ไปขึ้นตรงกับ สำนักงานโฆษณาการ สำนักนายกรัฐมนตรี โดยได้ตั้งชื่อให้ใหม่เป็นสถานีวิทยุกรุงเทพฯ ซึ่งชื่อนี้นั้นใช้เวลาอยู่เพียงสั้นๆ ก่อนจะได้มีการเปลี่ยนใหม่ขึ้นในปี พ.ศ.2484 โดยได้เปลี่ยนเป็น สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย หลังจากที่มีการประกาศรัฐนิยมในฉบับที่ 1 ที่ได้ทำการเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามนั้นให้เป็นประเทศไทย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 โดยในสมัยนั้น สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ได้มีการบริหารงานตามรูปแบบของหน่วยงานราชการ จัดแบ่งโครงสร้างบริหารงานต่างๆ
โดยได้มีการกระจายเสียงเพื่อทำการสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ ของรัฐในด้านของนโยบายต่างๆ ข้อมูลข่าวสาร และสะท้อนปัญหาของประชาชนไปสู่รัฐบาล ตลอดไปจนถึงการส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลกับประชาชน สนับสนุน การส่งเสริมการศึกษาและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ทั้งในภายนอนและภายในประเทศ เพื่อประโยชน์ในด้านของความมั่นคง และรวมไปถึงการส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การ) ปฏิบัติงานร่วมกัน หรือ การสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้มีการรับมอบหมาย
มีโครงสร้างของการบริหารงานแบ่งกันออกไปดังนี้
- ส่วนที่ทำการกระจายเสียงในประเทศไทย
- ส่วนที่ทำการกระจายเสียงในต่างประเทศ
- ส่วนที่ทำการสื่อข้าวรวมไปถึงการผลิตรายการข่าวต่างๆ หรือที่เรียกกันว่า สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์
- ส่วนที่ทำการผลิตรายการ
- ส่วนเทคนิค
- ส่วนที่ทำสถานีเครื่องส่ง 1,000 กิโลวัตต์
- ส่วนที่ทำงานบริหารการดนตรี หรือที่เรียกกันว่า วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์
- ส่วนที่ทำหน้าที่ในด้านของ แผนงาน และการประชาสัมพันธ์
- ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
- กลุ่มสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการรับรู้และเตือนภัย (ภาคกลาง)
โดยเครือข่ายสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยในส่วนกลางนั้น จะครอบคลุมกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
ซึ่งจะประกอบไปด้วย คลื่น FM ที่มีทั้งหมด 6 ความถี่ด้วยกัน ,คลื่น AM ซึ่งได้มี 3 ความถี่ด้วยกัน และ เครือข่ายวิทยุ ฯ
ภาคบริการโลก หรือ Radio Thailand World Service คลื่นสั้นในรูปแบบ Short Wave จำนวน 2 ความถี่
และเครือข่ายวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ในของส่วนภูมิภาคนั้น จะทำการจะมีการจัดสรรสังกัดสำนักงานประชาสัมพันธ์ของแต่ละเขต ที่ทำการรับผิดชอบพื้นที่นั้นๆ โดยที่ทำการประจำในส่วนของ จังหวัด อำเภอ หรือตามเขตพื้นที่ต่างๆ โดยมีทั้งหมดแล้วรวม 8 เขต ด้วยกัน รวมแล้วทั้งหมดมีมากถึง 90 สถานี โดยจัดเป็น FM ถึง 82 สถานี และจัดเป็น AM ถึง 8 สถานีด้วยกัน
โดยใน 8 เขตนั้น จะมีการแบ่งออกเป็นสำนักงานประชาสัมพันธ์เขตต่างๆ ที่ครอบคลุมพื้นที่ดังนี้
- เขตที่1 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
- เขตที่ 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
- เขตที่ 3 ภาคเหนือตอนบน
- เขตที่ 4 ภาคเหนือตอนล่าง
- เขตที่ 5 ภาคใต้ตอนบน
- เขตที่ 6 ภาคใต้ตอนล่าง
- เขตที่ 7 ภาคตะวันออก
- เขตที่ 8 ภาคตะวันตก