วิทยุกระจายเสียงในประเทศไทย เกิดขึ้น ระยะแรกเมื่อประมาณราวปี พ.ศ. 2470 – 2472 โดยพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งทรงริเริ่มทดลองส่งวิทยุกระจายเสียง เป็นครั้งแรก ในประเทศสยาม โดยทรงตั้งชื่อว่า “สถานีวิทยุกรุงเทพฯที่พญาไท”

เนื่องจากทรงส่งวิทยุกระจายเสียงเป็นครั้งแรกที่พระราชวังพญาไท และยังทรงมอบหมายให้ กรมไปรษณีย์โทรเลข โดยกองช่างวิทยุ ดำเนินการทดลองส่งวิทยุกระจายเสียง เป็นการคู่ขนานกับสถานีส่วนพระองค์ โดยผู้ฟังนิยมเรียกกันว่า “สถานีวิทยุศาลาแดง” เนื่องจากว่าสถานีที่ทำการส่งกระจายเสียงนั้น อยู่ในบริเวณย่านที่เรียกกันว่า ศาลาแดงนั้นเอง

และต่อมานั้น สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท ก็ได้ทำการเปิดกระจายเสียงอย่างเป็นทางการ เริ่มด้วยการถ่ายทอดเสียงสด กระแสพระราชดำรัส เนื่องในการพระราชพิธีฉัตรมงคล ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เมื่อวันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 จากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง จังหวัดพระนคร

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 กองช่างวิทยุต้องดำเนินการขนย้ายเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง ของสถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท เข้าไปไว้ร่วมกันกับที่สถานีวิทยุศาลาแดง เนื่องจากกองทัพบกในขณะนั้นต้องการที่จะนำที่ดินในบริเวณพระราชวังพญาไท เพื่อไปใช้สอยในราชการ ก่อตั้งเป็นโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2482 คณะรับมนตรี ซึ่งนำโดย นายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิบูลสงคราม ลงมติให้โอนกิจการวิทยุกระจายเสียงซึ่งกรมไปรษณีย์โทรเลขดำเนินการอยู่นั้น ไปขึ้นตรงอยู่กับกรมโฆษณาการ สำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งในปัจจุบันนั้นเรียกกันว่า กรมประชาสัมพันธ์ โดยได้มีการให้ชื่อใหม่ว่า “สถานีวิทยุกรุงเทพฯ” ซึ่งใช้อยู่เพียงเวลาไม่นานนัก ก็ได้กลายเป็น “สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย” เมื่อปี พ.ศ. 2484 หลังจากมีการประกาศรับนิยมในฉบับที่ 1 เปลี่ยนชื่อจากประเทศสยามเป็นไทย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482

ในช่วง เดือนเมษายน พ.ศ. 2488  สืบเนื่องจากการเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา เครื่องบินต่างชาตินั้นได้มีการทิ้งระเบิดลงมายังโรงไฟฟ้าทั้ง 2 แห่ง ของจังหวัดพระนคร จนได้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก กรมโฆษณาการจึงไม่มีกระแสไฟฟ้าสำหรับการส่งกระจายเสียงวิทยุ เป็นเวลาหลายวันด้วยกัน จนกระทั่งวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2483 กองช่างวิทยุ กรมไปรษณีย์โทรเลข จึงได้ดำเนินการก่อตั้ง สถานีวิทยุ  1 ป.ณ. ที่อาคารกรมไปรษณีย์โทรเลขหลังเก่า บริเวณเชิงสะพานพุทธยอดฟ้า ฝั่งพระนคร ช่วงหน้าวัดราชบุรณราชวรวิหารหรือวัดเลียบ เพื่อส่งกระจายเสียงคู่ขนานร่วมกันกับ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ตามคำสั่งของกระทรวงคมนาคม ที่ให้ทำการรื้อฟื้นวิทยุกระจายเสียงขึ้นมาใหม่ เพื่อที่จะสำรองใช้ในราชการ ในกรณีที่ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยของกรมโฆษณาการ หรือ กรมประชาสัมพันธ์ นั้นไม่สามารถที่จะส่งกระจายเสียงได้

   ประเทศไทยนั้นได้เริ่มรู้จักเครื่องวิทยุเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2447   เมื่อห้าง บี.กริมม์ นำผู้แทนบริษัทวิทยุโทรเลข เทเลฟุงเก็น เข้ามาตั้งเครื่องรับส่งวิทยุโทรเลขทดลองในกรุงเทพฯ หลังจากนั้นทางราชการกองทัพเรือ และ กองทัพบกจึงได้นำเครื่องรับส่งวิทยุโทรเลขขนาดเล็กมาใช้ในราชการเรือรบและในงานสนามในปีพ.ศ. 2456 ทางราชการทหารเรือนั้นได้มีการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขขึ้นเป็นการถาวรที่ตำบลศาลาแดง ในกรุงเทพฯ และ อีกสถานีหนึ่งที่ ชายทะเล อำเภอเมืองสงขลา อีกแห่งหนึ่ง

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จมาทรงเปิดสถานีวิทยุโทรเลขแห่งแรกของประเทศไทย ที่ตำบลศาลาแดง กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2456 กองช่างวิทยุกรมไปรษณีย์โทรเลขจึงได้ทำการตั้งสถานีวิทยุทดลอง  1 ป.ณ. ขึ้นที่แผนกช่างวิทยุ ซึ่งได้ย้ายจากสถานีวิทยุศาลาแดงนั้น มาอยู่ที่ตึก กรมไปรษณีย์โทรเลขเก่า และส่งวิทยุกระจายเสียงเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ส.2489 ด้วยเครื่องส่งขนาดเล็กแต่ใช้ความถี่สูง ภายหลังนั้นได้มีการเพิ่มกำลังส่งเป็น 500 วัตต์ ใช้ความถี่ 4,755 กิโลเฮิรตซ์  7,022 กิโลเฮิรตซ์  5,955 กิโลเฮิรตซ์  และ 950 กิโลเฮิรตซ์ รวม 4 เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงพร้อมกันด้วยรายการเดียวกัน